วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สงครามลุกลามทั่วโลก

เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 เยอรมนีรวมไปถึงกลุ่มประเทศฝ่ายอักษะในทวีปยุโรปและฟินแลนด์ ได้รุกรานสหภาพโซเวียตในปฏิบัติการบาร์บารอสซา ซึ่งเป็นการโจมตีที่เหนือความคาดหมาย[129] โดยมีเป้าหมายคือการยึดครองรัฐบอลติก มอสโก และยูเครน และกำหนดเป้าหมายสูงสุดไว้ใกล้กับแนวเอ-เอ เมื่อปลายปี ค.ศ. 1941 ซึ่งเป็นแนวที่เชื่อมต่อระหว่างทะเลสาบแคสเปียนกับทะเลขาว ส่วนวัตถุประสงค์ของฮิตเลอร์ คือ การทำลายอำนาจทางการทหารของสหภาพโซเวียต การกวาดล้างระบอบคอมมิวนิสต์ และสร้าง "พื้นที่อยู่อาศัย"[130] โดยการใช้กำลังแย่งชิงดินแดนมาจากชนพื้นเมืองเดิม[131] และเป็นการรับประกันการสร้างหนทางซึ่งนำไปสู่การยึดครองทรัพยากรที่จำเป็นต่อทำลายคู่แข่งของเยอรมนีที่ยังเหลืออยู่[132]
ถึงแม้ว่าฝ่ายกองทัพแดงจะมีการเตรียมการป้องกันทางยุทธศาสตร์ไว้แล้วก็ตาม[133] แต่ปฏิบัติการบาร์บารอสซาได้บีบบังคับให้กองบัญชาการทหารสูงสุดของโซเวียต ต้องหันมาปรับใช้แผนป้องกันทางยุทธศาสตร์แทน ระหว่างช่วงฤดูร้อน กองทัพฝ่ายอักษะได้รับชัยชนะมาตลอด สามารถยึดครองดินแดนอันกว้างใหญ่ และสร้างความเสียหายทั้งทางด้านทรัพยากรและกำลังพลให้แก่สหภาพโซเวียตเป็น อย่างมาก แต่ทว่าในช่วงกลางเดือนสิงหาคม กองบัญชาการทหารสูงสุดเยอรมนีตัดสินใจที่จะพักการรบของหมู่กองทัพกลางเอาไว้ หลังจากที่กำลังพลมีจำนวนลดลง และแบ่งกลุ่มแพนเซอร์ที่สองไปสมทบกับกองทัพที่กำลังมุ่งหน้าไปยังตอนกลางของ ยูเครนและเลนินกราด[134] ยุทธการเคียฟประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ส่งผลทำให้กองทัพโซเวียตถูกทำลายไปถึงถึงสี่กองทัพ และทำให้การมุ่งหน้าต่อไปยังคาบสมุทรไครเมียและเขตอุตสาหกรรมพัฒนาแล้วใน ยูเครนตะวันออกเป็นไปได้[135]
ในช่วงปฏิบัติการบาร์บารอสซา กองทัพกว่าสามในสี่ของฝ่ายอักษะ และกองทัพอากาศส่วนใหญ่ได้ถูกเคลื่อนย้ายจากฝรั่งเศสและทะเลเมดิเตอร์ เรเนียนไปยังแนวรบด้านตะวันออก[136][137] สหราชอาณาจักรได้รีบทำการพิจารณายุทธศาสตร์หลักใหม่ทันที[138] ในเดือนกรกฎาคม สหราชอาณาจักรและสหภาพโซเวียตก็ได้รวมตัวกันจัดตั้งพันธมิตรทางทหารเพื่อต่อต้านเยอรมนี[139] ทั้งสองประเทศได้ร่วมมือกันรุกรานอิหร่านเพื่อรักษาฉนวนเปอร์เซียและแหล่งน้ำมันในอิหร่าน[140] ในเดือนสิงหาคม สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาได้ร่วมมือกันตั้งกฎบัตรแอตแลนติก[135]
ต้นเดือนตุลาคม หลังจากที่กองทัพฝ่ายอักษะได้รับชัยชนะในยูเครนและแถบทะเลบอลติก โดยมีเพียงเลนินกราดและซาเวสโตปอลทื่ยังคงรบต้านทานอยู่เท่านั้น[141][142] ยุทธการมอสโกก็ ได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นใหม่ หลังจากผ่านการรบอย่างหนักเป็นเวลาสองเดือน กองทัพฝ่ายอักษะเกือบจะถึงชานกรุงมอสโกแล้ว กองทัพของฝ่ายอักษะที่อ่อนเปลี้ย[note 2] ทำให้การบุกนั้นต้องหยุดชะงักไป[143] [144] และถึงแม้ว่าเยอรมนีจะได้ดินแดนมาจำนวนมหาศาล แต่ว่าประสบความล้มเหลวในการบรรลุวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์ สองนครที่สำคัญของโซเวียตยังไม่แตก ขีดความสามารถของกองทัพแดงในการต้านทานการบุกของฝ่ายอักษะยังคงไม่ถูกทำลาย และศักยภาพทางทหารยังคงเหลืออยู่มาก หลังจากนี้ ระยะบลิทซครีกในทวีปยุโรปจึงได้ยุติลงอย่างสมบูรณ์[145]
ทหารโซเวียตในเครื่องแบบฤดูหนาว ขณะทำการโจมตีตอบโต้กองทัพเยอรมันที่กรุงมอสโก
เมื่อถึงต้นเดือนธันวาคม สหภาพโซเวียตได้รับกองหนุนที่ระดมมาจากพรมแดนด้านตะวันออกซึ่งติดกับเขตแมนจูกัวของญี่ปุ่น[146][147] ทำให้กองทัพโซเวียตมีปริมาณกำลังพลที่เทียบได้กับกองทัพฝ่ายอักษะ[148] ซึ่งเมื่อประกอบกับการยืนยันจากข้อมูลข่าวกรองแล้วว่า กองทัพโซเวียตในภาคพื้นตะวันออกไกลมีปริมาณเพียงพอที่จะสามารถต้านทานกองทัพ กวนตงของญี่ปุ่นได้[149] ในวันที่ 5 ธันวาคม กองทัพโซเวียตก็ทำการโจมตีกลับครั้งใหญ่ ตามแนวรบที่ยาวต่อเนื่องกันกว่า 1,000 กิโลเมตร และสามารถผลักดันกองทัพอักษะได้เป็นระยะทางถึง 100-250 กิโลเมตร[150]
ความสำเร็จของเยอรมนีในทวีปยุโรปได้กระตุ้นให้ญี่ปุ่นเพิ่มการกดดันต่อ รัฐบาลยุโรปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รัฐบาลดัตช์ยินยอมที่จะส่งมอบทรัพยากรน้ำมันจากหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์ แต่ปฏิเสธที่จะยินยอมให้ญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงทางการเมืองภายในอาณานิคม ตรงกันข้ามกับวิชีฝรั่งเศส ซึ่งยินยอมให้ญี่ปุ่นยึดครองอินโดจีนฝรั่งเศส[151] รัฐบาลสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรและประเทศตะวันตกตอบโต้การยึดครองดังกล่าวด้วยการอายัติทรัพย์ สินของญี่ปุ่น ในขณะที่สหรัฐอเมริกา (ซึ่งญี่ปุ่นอาศัยนำเข้าน้ำมันเป็นปริมาณกว่าร้อยละ 80[152]) ตอบสนองโดยการห้ามขนส่งน้ำมันไปยังญี่ปุ่นอย่างสมบูรณ์[153] ญี่ปุ่นถูกบีบบังคับให้เลือกว่าจะล้มเลิกความทะเยอทะยานในการยึดครองทวีป เอเชียและหันกลับไปดำเนินการรบในจีนต่อไป หรือเข้ายึดแหล่งทรัพยากรที่ต้องการด้วยกำลังทหาร กองทัพญี่ปุ่นไม่พิจารณาถึงทางเลือกแรก และนายทหารระดับสูงจำนวนมากพิจารณาว่าการห้ามขนส่งน้ำมันไปยังญี่ปุ่นเป็น การประกาศสงครามโดยนัย[154]
ญี่ปุ่นได้วางแผนในการยึดครองอาณานิคมของชาติยุโรปในทวีปเอเชียอย่างรวด เร็วเพื่อที่จะสร้างแนวป้องกันขนาดใหญ่ซึ่งลากยาวผ่านมหาสมุทรแปซิฟิก ตอนกลาง เพื่ออำนวยความสะดวกในการแสวงหาทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้อย่างอิสระขณะทำสงครามป้องกันตนเองจนทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรที่ต้อง สู้รบเป็นอาณาบริเวณกว้างเหนื่อยล้า[155] และเพื่อการป้องกันการเข้าแทรกแซงของภายนอก ญี่ปุ่นจึงพยายามวางแผนที่จะทำลายกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับแรก[156] ในวันที่ 7 ธันวาคม ญี่ปุ่นได้โจมตีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลางในเวลาเดียวกัน รวมไปถึงโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล[157] และยกพลขึ้นบกในไทยและมาลายา[158]
ทหารอังกฤษในสิงคโปร์ยอมจำนน ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 มีทหารสัมพันธมิตรราว 80,000 นายถูกจับเป็นเชลยและถูกใช้แรงงานทาส
จากการโจมตีครั้งนี้ ทำให้สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย จีนและฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกประกาศสงครามกับญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ ส่วนทางด้านเยอรมนี อิตาลีและกลุ่มประเทศตามสนธิสัญญาสามฝ่ายก็ได้ตอบสนองโดยการประกาศสงครามกับ สหรัฐอเมริกาเช่นกัน ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1942 สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหภาพโซเวียตและจีน ร่วมด้วยยี่สิบสองรัฐบาลซึ่งเป็นประเทศเล็กหรือเป็นรัฐบาลพลัดถิ่น ได้ร่วมกันออกปฏิญญาสหประชาชาติ ซึ่งเป็นการรับรองกฏบัตรแอตแลนติก[159] แต่สหภาพโซเวียตมิได้ปฏิบัติตามแถลงการณ์ดังกล่าว และคงความตกลงเป็นกลางกับญี่ปุ่น[160][note 3] และดำเนินการตัดสินใจตามหลักการพิจารณาของตนเพียงฝ่ายเดียว[135] นับตั้งแต่ ค.ศ. 1941 สตาลินได้ร้องขอเชอร์ชิลล์ และโรสเวลต์อย่างต่อเนื่องให้เปิด "แนวรบที่สอง" ขึ้นในฝรั่งเศส[161] แนวรบด้านตะวันออกจะกลายเป็นเขตสงครามหลักของสงครามในยุโรปและสร้างความสูญ เสียแก่ชีวิตของชาวโซเวียตหลายล้านคน ซึ่งทำให้การสูญเสียหลายแสนคนของฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกเป็นเรื่องเล็กน้อย เชอร์ชิลล์และโรสเวลต์กล่าวว่าพวกเขาต้องการเวลาเตรียมการมากกว่านี้ จึงนำไปสู่การบอกเล่าที่ว่าพวกเขาชะลอเพื่อช่วยชีวิตชาวตะวันตกด้วยราคาของ ชีวิตชาวโซเวียต[162]
เมื่อถึงปลายเดือนเมษายน ค.ศ. 1942 ญี่ปุ่นเกือบจะสามารถครอบครองพม่า มาลายา หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์ สิงคโปร์[163] และราบูล โดยสามารถสร้างความเสียหายกับกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรและจับกุมเชลยศึกได้ เป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่าจะทำการรบต้านทานอย่างหนัก แต่ฟิลิปปินส์ก็ถูกยึดครองในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1942 ทำให้รัฐบาลฟิลิปปินส์ต้องพลัดถิ่น[164] กองทัพญี่ปุ่นยังได้รับชัยชนะในยุทธนาวีหลายครั้งในทะเลจีนใต้ ทะเลจาวาและมหาสมุทรอินเดีย[165] ต่อมา ได้เคลื่อนมาทิ้งระเบิดที่ฐานทัพเรือดาร์วิน และได้รับชัยชนะในการรบทางทะลในทะเลจีนใต้ ทะเลชวาและมหาสมุทรอินเดีย[166] แต่ความสำเร็จที่แท้จริงเพียงอย่างเดียวของฝ่ายสัมพันธมิตรเกิดขึ้นในยุทธการชิงชาครั้งที่สองในตอนต้นของเดือนมกราคม ค.ศ. 1942 เท่านั้น[167] การเอาชนะข้าศึกที่ไม่ทันตั้งตัวนี้ ทำให้ญี่ปุ่นมีความมั่นใจในตัวเองมากเกินไป[168]
ทางด้านเยอรมนีก็สามารถทำการรุกต่อได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากการบังคับบัญชากองทัพเรือที่ไม่แน่นอนของสหรัฐ กองทัพเรือเยอรมันสามารถทำลายทรัพยากรฝ่ายสัมพันธมิตรใกล้ชายฝั่งด้านตะวันออกของสหรัฐอเมริกาได้[169] ถึงแม้ว่าจะประสบความสูญเสียเป็นจำนวนมาก แต่กองทัพฝ่ายอักษะก็สามารถหยุดยั้งการรุกครั้งใหญ่ของโซเวียตได้ทางตอนกลาง และตอนใต้ และยังคงถือครองดินแดนเพิ่มเติมที่ได้รับเข้ามาเมื่อปีที่แล้วอยู่เป็นจำนวน มาก[170] ส่วนในแอฟริกาเหนือ ฝ่ายอักษะได้ทำการบุกอีกครั้งในเดือนมกราคม ค.ศ. 1942 เป็นการผลักดันให้กองทัพสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพกลับไปยังแนวกาซาลาใน ตอนต้นเดือนกุมภาพันธ์[171] ส่วนในแนวรบด้านตะวันออก การตีโต้ของกองทัพโซเวียตได้ยุติลงเมื่อเดือนมีนาคม[172] ตามด้วยการยุติการรบชั่วคราวของเยอรมนี ซึ่งใช้เวลาเพื่อวางแผนในการโจมตีในครั้งหน้าต่อไป[173][174]
ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น